สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

IUPAC เปลี่ยนแปลง น้ำหนักอะตอม ธาตุบางธาตุ

The 27th IUPAC International Conference on Chemistry Education : ICCE 2024 (ICCE 2024)

ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานการนำเสนอผลงานโปสเตอร์จำนวน 209 เรื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญในการประชุมวิชาการระดับโลก The 27th IUPAC International Conference on Chemistry Education : ICCE 2024 ซึ่งสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้รับสิทธิ์ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับโลก โดยมีเจ้าภาพร่วม ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุม รวมทั้ง ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งแขกผู้มีเกียรติทุกท่านจากประเทศต่างๆ 56 ประเทศ ณ ห้อง Royal Summit Chamber AB ณ Royal Cliff Hotels Group พัทยา จังหวัดชลบุรี ในโอกาสนี้ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มอบเกียรติบัตรแก่ครูต้นแบบ (Certificate of Honor Presentation to Role-model Teachers) โครงการห้องเรียนเคมีดาว และมอบเหรียญรางวัลให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมเสนอผลงาน ตามคุณภาพงานที่นำเสนอ เป็นเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ซึ่งเป็นการผลักดัน และส่งเสริมให้นักเรียนมีกำลังใจและมุ่งมั่นในการศึกษาวิจัยต่อไป อีกทั้งเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในอนาคต โดยนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เพียงได้เรียนรู้จากการลงมือทำ (Active Learning) และมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งถือว่าประสบการณ์นี้ จะช่วยให้พัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น เป็นก้าวสำคัญที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีตรรกะในการแก้ไขปัญหา สร้างความเข้มแข็งทั้งในด้านวิชาการ บุคลิกภาพ ตามพหุปัญหาความรู้ความสามารถของนักเรียน และ การสร้างเครือข่ายอย่างยั่งยืนในโอกาสต่อไป สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ที่กล่าวไว้ว่า “เรียนดีมีความสุข” (Happy Leaning) ซึ่งนับได้ว่าเป็นการผลักดัน และส่งเสริมให้นักเรียนมีกำลังใจและมุ่งมั่นในการศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในอนาคต

ในงานประชุมนี้มีหัวข้อหลัก คือ Power of Chemistry Education for Advancing SDGs ซึ่งเน้น การระดมสมองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอนเคมี ให้นักเรียนและเยาวชนพร้อมรับมือกับ การเปลี่ยนแปลง และสถานการณ์รุนแรงต่างๆ ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มี symposia และ workshops ในหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นที่สนใจและเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้คิดแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ ที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับการดำเนินชีวิตในโลกที่มีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น เป็นลำดับ

นับเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งรวมถึงครูและนักเรียนไทยทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย รวมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ ได้พบกับท่านรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนไทย จะนำเสนอผลงานโปสเตอร์จาก โครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน รวมมากกว่า 70 เรื่อง ในเวทีระดับโลกครั้งนี้ ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการนำเสนอและตอบข้อซักถามกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาประเทศ

Facebook
Twitter
LinkedIn